หน้าแรกเกี่ยวกับองค์กรบทความข้อมูลใบยาเบอร์เลย์

ข้อมูลใบยาเบอร์เลย์

หมวดหมู่ :

ใบยาเบอร์เลย์ เป็นใบยาประเภทบ่มอากาศ โดยการทำให้ใบยาค่อยๆ แห้งภายในโรงบ่ม ด้วยอุณหภูมิธรรมชาติ แต่ควบคุมความชื้นภายในโรงบ่ม ด้วยการปิดเปิดช่องระบายอากาศ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีในใบยา ใบยาชนิดนี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายโกโก้ นิยมปลูกกันบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่จังหวัดสุโขทัย เพชรบูรณ์ และภาคอีสานได้แก่ จังหวัดหนองคาย นครพนม ปัจจุบันใบยาเบอร์เลย์ไทยมีคุณภาพและราคาเป็นที่ยอมรับและต้องการของตลาดส่งออก
ภาพลักษณะของต้นและใบยาเบอร์เลย์
การเก็บใบยาเบอร์เลย์ มีลักษณะการเก็บเช่นเดียวกันกับการเก็บใบยาเวอร์ยิเนีย ทั้งการเสียบใบ การมัดกับไม้ราวยา และนำเข้าวางในโรงบ่ม หลังจากนั้นปล่อยให้ใบยาส่วนที่เหลือในไร่แก่สุก โดยสังเกตใบยาล่างสุดมีสีเหลือง ปลายใบและขอบมีสีน้ำตาล และเริ่มแห้ง ใบยายอดเริ่มมีสีเหลือง จึงตัดโคนต้น แล้วเสียบด้วยไม้ราวยาไม้ละ 5 – 6 ต้น ทิ้งไว้ในไร่ 1 – 2 วัน กรณีถ้าอากาศร้อนจัด ควรนำไปแขวนในร่ม เพื่อให้ใบยาเหี่ยวและอ่อนตัว จึงนำเข้าไปวางบนชั้นในโรงบ่มเช่นเดียวกับการเก็บใบครั้งแรกๆ โดยให้ส่วนยอดชี้ลง
water-color-ttm-72
ก่อนที่จะนำไปบ่มต้องมีการคัดเกรดก่อน ทั้งขนาด ความยาว อีกทั้งยังแบ่งตามรอบในการเก็บใบยาสูบ นั่นคือ ใบล่าง ใบกลาง และใบบน ใบยาล่างมีคุณสมบัติโปร่ง สามารถดูดซับน้ำหอมน้ำปรุงได้ดีกว่าใบยาล่างอื่น
การควบคุมความชื้นภายในโรงบ่มใบยาเบอร์เลย์ ด้วยการปิดเปิดช่องระบายอากาศ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีในใบยา เริ่มตั้งแต่ระยะทำสีเหลือง ซึ่งเป็นระยะแรกที่ต้องการให้ใบยาเหี่ยวตัวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะใช้เวลา 4 – 5 วัน ระยะต่อไป คือการทำสีของใบยาจากสีเหลืองให้มีการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอย่างช้าๆ เนื้อใบยาจะค่อยๆ แห้งไปด้วย จะใช้เวลาประมาณ    10 – 12 วัน  ส่วนในระยะสุดท้าย เป็นการทำแห้ง ระยะนี้จะเหลือความชื้นเพียงที่ก้านใบเท่านั้น จึงควรเปิดช่องระบายอากาศให้เต็มที่ จะใช้เวลาประมาณ 18 – 20 วัน จากนั้นจึงค่อยนำมาคัดอีกรอบ แล้วอัดมัดห่อ เพื่อส่งขายให้โรงงานยาสูบต่อไป
water-color-ttm-115
ใบยาที่บ่มได้แล้ว ชาวไร่จะนำมาคัดแยกอีกรอบหนึ่ง หลังจากนั้นจะนำมาเรียง อัดมัดเป็นห่ออย่างมีระเบียบ ห่อละประมาณ 65 – 70 กิโลกรัม ส่งขายให้กับโรงงานยาสูบต่อไป

..เพิ่มเติม..